การเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยวิธีการที่ถูกต้องนั้น  มีหลักการง่าย ๆ  ซึ่งทุกคนก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงในการกระทำสิ่งที่คนอื่นไม่ต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ประเด็นจึงมีอยู่ว่าความต้องการในบางลักษณะนั้นเป็นที่ต้องการของเราแต่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้อื่น  เช่นลูกมีความต้องการไปเที่ยวดิสโก้เธคตอนกลางคืนแต่นั่นไม่ใช่ความต้องการของพ่อแม่  ที่จริงแล้วการเอาใจเขามาใส่ใส่ใจเรานั้นมนุษย์ก็มีการกระทำเช่นนี้อยู่ในระดับหนึ่งแล้ว  เพียงแต่ว่ายังไม่มีความเข้มข้นเพียงพอที่จะทำให้สังคมสงบได้  แล้วเหตที่สังคมไม่สงบประการหนึ่ง  เนื่องจากเราทั้งหลายต่างหยิบยื่นสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการให้ซึ่งกันและกันแล้วแสวงหาสิ่งที่ต้องการไว้กับตน  ด้วยเหตุนี้ทำให้มนุษย์ขาดการเอาใจเขามาใส่ใจเราที่ถูกต้อง
ความต้องที่ทุกคนมีเหมือนกันแน่ ๆ  หรือถ้าใครไม่มีก็บอกผู้เขียนมั่งจะได้นำไปเป็นกรณีศึกษา  ความไม่ต้องการดุด่าจากผุ้อื่น  การได้รับคำนินทาให้ร้ายจากผู้อื่น  การได้รับการพูดเท็จหรือพูดโกหกจากผู้อื่น  ความต้องไม่ให้ตนเองเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นไม่ให้ผู้อื่นมาสนใจในคุณงามความดีที่ตนมี  แล้วอื่น ๆ  อีกมากมาย  หากนี่เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ  แล้วความคิดในลักษณะอื่นใดที่เรารู้แล้วไม่อยากให้คนอื่นมาทำกับเรา  ซึ่งเป็นความรู้สึกสามัญหมายความว่าทุกคนเป็นเหมือนกันหมด  ไม่ว่าใครก็ตามก็เป็นเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น  หากรู้ว่าตนเองไม่ต้องการอย่าทำพฤติกรรมนั้นกับคนอื่นก็พอแล้ว  แล้วต่างคนต่างไม่ทำในความคิดที่เป็นสามัญแห่งความไม่ต้องการให้ผู้อื่นกระทำกับเรา  ถือว่าเป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้ว
หลักเจตนาที่ถูกต้อง  คืออย่าไปหวังว่ามิให้คนอื่นทำเช่นนนั้นเช่นนี้กับเรา  แต่ให้เริ่มจากตนเองว่าอย่าไปทำในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ต้องการโดยความเป็นสามัญโดยเจตนาของตน  ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันก็เป็นอีกอย่าง  เช่น  นาย ก.  ชอบขี่จักรยานยน  ไม่ชอบถีบจักรยาน  นาย ข.  ชอบถีบจักรยานแต่ไม่ชอบขี่จักยานยนต์  นี่เป็นลักษณะปลีกย่อยที่ไม่เข้าข่ายการเอาใจเขามาใส่ใจเราตามที่ผู้เขียนอธิบายมา  เพราะลักษณะการเอาใจเขามาใส่ใจเราคือลักษณะสามัญแล้วมีเหมือนกันทุกคนเท่านั้น  ส่วนลักษณะที่ไม่สามัญก็ต้องคุยกันเป็นลักษณะของแต่ละบุคคลไป
หากเรารู้วิธีการเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้วนั้น  จะเป็นการบรรเทาให้สังคมนี้ลดความไม่น่าอยู่ลงไปได้มาก  นั่นหมายความว่าตามสัญชาติญาณแล้ว  ลักษณะของความสามัญในสิ่งที่เราไม่ต้องการนั้น  ไม่ต้องมีใครบอกใครแนะนำ  เพราะสิ่งเหล่านี้ขอเพียงให้เรารู้เรื่องแล้วสามารถสื่อสารกับผู้อื่นรู้เรื่องแล้วรู้ความหมายในสิ่งที่คนอื่นพูด  อาศัยหลักการเพียงเท่านี้ทุกคนจะรู้คำตอบได้ว่าความสามัญในความต้องการหรือไม่ต้องการในสิ่งใดว่ามีอะไรบ้างด้วยสัญชาติญาณของแต่ละคน  มนุษย์เป็นสัตว์ที่ใช้สัญชาติญาณน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใด ๆ  อยู่แล้ว  แต่ก็ไม่อาจหนีพ้นการใช้สัญชาติญาณ  เช่นเราไม่ต้องการให้คนอื่นด่าเรา  แต่ถึงเวลาเราก็ไปด่าคนอื่นโดยไม่คำนึงว่านั่นคือสิ่งที่เราไม่ต้องการ  หากเรารู้ว่าสิ่งนั้นเราไม่ต้องการเพียงแค่บังคับตนเองให้มีความตั้งใจหรือเจตนาที่จะไม่ไปหยิบยื่นสิ่งนั้นด้วยสติก็พอแล้ว  ต่างคนต่างทำสังคมก็จะสงบ
นั่นหมายความว่าหากเราใช้สัญชาติญาณน้อยกว่าสัตว์ชนิดอื่น  ให้เราใช้สัญชาติญาณให้น้อยลงไปอีก  ยิ่งใช้สัญชาติญาณแห่งความต้องการกระทำต่อผู้อื่นน้อยลงเท่าใด  ความมีอารยะในบุคคลผู้นั้นจะสูงขึ้น  ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงเจตนาที่แท้จริงของตนเองได้ว่า  แท้จริงแล้วการที่ตนเองแสดงพฤติกรรมออกไปอย่างนั้น  ตนเองมีเจตนาที่บริสุทธิ์อย่างไรกันแน่  เพราะเรื่องของเจตนาจากตน  ตนเท่านั้นเป็นผุ้ต้องยอมรับและตัดสิน  คนอื่นไม่อาจตีความเจตนาของเราได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  แต่ต้องใช้การทำสมาธิภายใต้การรับรู้ในสัมผัสที่ 6  เท่านั้นจึงจะล่วงรู้เจตนาที่แท้จริงของผู้อื่นได้นั่นเอง